วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2562

ประวัติผ้าไหมมัดหมี่ของอำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ





                                                     
       คำขวัญอำเภอบ้านเขว้า


    ผ้าไหมลือเลื่อง  
   หามหอกเมืองโบราณ 
     ถิ่นกำเนิดมโหรี  
     แม่น้ำชีไหลผ่าน    
     กู่แดงปรางค์เก่า  
    บ้านเขว้าแดนอุดม
 

ประวัติผ้าไหมมัดหมี่อำเภอบ้านเขว้า     
          ผ้าไหมมัดหมี่อำเภอบ้านเขว้า โดยเฉพาะตำบลบ้านเขว้า มีประวัติความเป็นมา อันยาวนานเป็นเวลานานเกือบ   200 ปี  ตั้งแต่สมัยเจ้าพ่อพระยาแล  เป็นชุมชนที่มีการทอผ้าไหมที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันมานานในหมู่ผู้นิยมผ้าไหม และเกิดการเล่าขานแพร่กระจายในกลุ่มนักสะสมผ้าไหม ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์ของตนเองสืบต่อถ่ายทอดกันมาแต่โบราณ 
          การทอผ้าไหมมัดหมี่ ชาวบ้านเขว้า ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพชน นานเกือบ 200 ปีนับแต่มีการก่อตั้งชุมชนบ้านเขว้า  เริ่มจากการทอเพื่อใช้ในครัวเรือน ต่อมาได้เข้าไปมีส่วนร่วมในงานประเพณีต่างๆ เช่น งานแต่งงาน ใช้เป็นเครื่องแต่งกายของเจ้าบ่าว เจ้าสาวใช้เป็นของไหว้สำหรับญาติฝ่ายชายในงานแต่งงาน งานบวชใช้แต่งตัวนาคและผู้ที่ไปร่วมงาน รวมถึงงานบุญ งานทาน งานประเพณีต่างๆ ผู้คนจะแต่งกายด้วยผ้าไหม ทั้งหญิงและชาย เป็นการประกวด ประชันทั้งฝีมือการทอและการตัดเย็บกันไปในที            
          ผ้าไหมของบ้านเขว้า เริ่มเป็นที่รู้จักทั่วไปเมื่อประมาณ พ..2523 นายถนอม แสงชมภู      
นายอำเภอขณะนั้น  ได้นำผ้าไหมส่งศูนย์ศิลปาชีพ สวนจิตรลดา ด้วยคุณภาพของผ้าไหม ลวดลายที่แปลกตา และผีมือที่ปราณีต จึงได้รับความสนใจ มีผู้สั่งทอเป็นจำนวนมาก ต่อมาในปี พ..2530 ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิในขณะนั้น (.สุนัย ณ อุบล รน. :ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ด้านผ้าไหม และผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไหมได้ให้การส่งเสริมการผลิตและได้ส่งผ้าไหมบ้านเขว้าเข้าประกวดที่โครงการศิลปาชีพ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร ได้รับรางวัลชนะเลิศ หลังจากนั้น ผ้าไหมบ้านเขว้าได้รับการคัดเลือกส่งเข้าประกวดและได้รับรางวัลชนะเลิศเกือบทุกปี
        เอกลักษณ์ของลายผ้า    เป็นการสะท้อนความเป็นอยู่ และวิถีชีวิตของชุมชนที่เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมของชุมชน ก่อให้เกิดจินตนาการคิดค้นออกมาเป็นลวดลายต่าง ๆ บนผืนผ้าถ่ายทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน
      การเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์กับภูมิปัญญา มีการสาธิตการผลิตผลิตภัณฑ์และกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในการผลิต เช่น  การทอผ้า  การเพนท์ผ้า  การหยอดทอง  เป็นต้น
         
         ในปี พ..2545 ในโครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ผ้าไหมบ้านเขว้าได้รับการพิจารณาเป็นสินค้าระดับ 5 ดาวของจังหวัดชัยภูมิ และในการประกวดสินค้า  OTOP ของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ผ้าไหมบ้านเขว้าได้รับรางวัลชนะเลิศของประเทศ ยอดจำหน่ายเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก เห็นได้ จากการจำหน่ายผ้าไหมในงานแสดงสินค้าที่ OTOP CITY เมืองทองธานี ยอดจำหน่ายสินค้า OTOP ของจังหวัดชัยภูมิรวมทั้งสิ้นประมาณ 18 ล้านบาทเศษ เป็นยอดจำหน่ายผ้า 14 ล้านบาทเศษ ในจำนวนนี้เป็นผ้าไหมบ้านเขว้าที่สามารถจำหน่ายได้ถึง 12 ล้านบาทเศษ ในเวลาเพียง 2 สัปดาห์           

        ปี พ..2547 อำเภอบ้านเขว้าได้รับเกียรติอันสูงยิ่ง ให้เป็นผู้ทอผ้าไหม “ไม้แรกของประเทศ” ในการทอผ้าตามโครงการ “ถักร้อยดวงใจ มหกรรมผ้าไทย เทิดไท้องค์ราชินี” ซึ่งจังหวัดต่าง ๆ จะทอผ้าแล้วนำมาต่อกันเป็นผืนเดียวที่มีความยาวหลายร้อยเมตรนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ  ในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 6 รอบ 72 พรรษา

                            
                   


วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การผลิตผ้าไหม ของอำเภอบ้านเขว้า

                                             

                      
     



การผลิตผ้าไหม 

                           อำเภอบ้านเขว้าเป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงในการทอผ้าไหมมัดหมี่ฝีมือเยี่ยม ทอด้วยมือและทุกขั้นตอนการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำเองตั้งแต่การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม สาวไหม ฟอกย้อม ทอผ้าไหมเป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งขั้นตอนการผลิตได้ดังนี้
          1.     การปลูกหม่อน
          2.     การเลี้ยงตัวไหม
          3.     การสาวไหม
          4.     การเตรียมเส้นไหม
               4.1  การเตรียมไหมเส้นยืน (เครือหูก)
                    - การกวักไหม
                    - การค่น
                    - การฟอก
                    - การมัด
                    - การย้อม
                    - การสืบ
                    - การพัน
               4.2  การเตรียมไหมเส้นพุ่ง (หมี่)
                    - การกวักไหม
                    - การค่น
                    - การฟอก
                    - การมัด
                    - การย้อม
                    - การแก้หมี่
                    - การปั่นหลอด
          5.     การทอผ้าไหม
               การแปรรูปผลิตภัณฑ์

ลายผ้าไหม ที่ขี้นชื่อของ อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ

                         ลายผ้าไหม คั่นขอนารี 

                  

  
                                      


1. ประวัติ
        ผ้าไหมลายหมี่คั่นขอนารี เป็นลายผ้ามัดหมี่เอกลักษณ์ ของจังหวัดชัยภูมิ เกิดจากการนำหมี่คั่นลายโบราณ มารวมกับ ลายมัดหมี่ขอนารี ซึ่งสมเด็จพระบรมราชินีนาถได้มีพระราชดำริ ให้อนุรักษ์ไว้ เกิดเป็นลายผ้าเอกลักษณ์ของจังหวัดชัยภูมิขึ้น การทอผ้าและผลิตผ้าไหมของคนชัยภูมินั้น จากประวัติที่ได้รับการบอกเล่าและบันทึกไว้บอกว่า ช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (จ.ศ. ๑๑๗๔) พ.ศ.๒๓๖๐ กว่า ๒๐๐ ปี ชาวชัยภูมิได้ผลิตผ้าไหมอย่างดีเป็นที่รู้จักตั้งแต่สมัยของ พระยาภักดีชุมพล (แล)เจ้าเมืองชัยภูมิ ที่ชาวชัยภูมิให้การเคารพเป็นอย่างสูง เป็นชาวเมือง เวียงจันทร์ ได้อพยพย้ายถิ่นฐาน มาตั้งเมืองที่เมืองชัยภูมิ ในสมัยนั้นต้องมีการส่งเครื่องบรรณาการไปถวายที่กรุงเทพ ฯ และเวียงจันทร์ ประเทศลาว และหนึ่งในเครื่องบรรณาการที่สำคัญ คือ ผ้าไหม ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ชาวบ้านมีภูมิปัญญา เรื่องของการทอผ้าไหมสะสมมาเป็นเวลาช้านาน และมีการพัฒนาเรื่องผ้าจนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในปัจจุบัน

        ท่านท้าวบุญมี ภรรยาของพระยาภักดีชุมพล (แล) เป็นผู้ที่เชี่ยวชาญ มีความชำนาญในการเลี้ยงไหม สาวไหม และทอผ้าไหม ได้สอนให้สตรีชาวชัยภูมิ รู้จักการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ทอผ้า ไม่ว่าจะเป็นผ้ายกขิด ผ้าไหมมัดหมี่ การทำซิ่นคั่น การทอผ้าฝ้าย เป็นต้น นอกจากนั้นท่านยังได้สอนให้มีการประดิษฐ์ คิดลวดลายต่างๆ ขึ้นอีก ไม่ว่าจะเป็นลายหมี่ขอ หมี่คั่น หมี่เอี่ยวเยี่ยวควาย และลายผ้ามัดหมี่อื่นๆ อีกมากมาย เนื่องจากชาวชัยภูมิเป็นผู้มีศิลปะในตัวเอง จึงได้คิดลายมัดหมี่จากสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวมาออกแบบเป็นลายผ้า จนถึงปัจจุบันนี้จังหวัดชัยภูมิ มีลายผ้าโบราณที่มีอายุตั้งแต่  ๕๐ปีขึ้นไป มีมากกว่า ๕๓๙ ลาย โดยผ้าบางชิ้นมีอายุมากกว่า ๒๐๐ ปี

2. ลวดลายและกรรมวิธีการทอ


        จากหลักฐานการอยู่อาศัยของกลุ่มชนในบริเวณเมืองชัยภูมิ มีวัฒนธรรมการแต่งกาย การออกแบบลวดลายบนผืนผ้า โดยเฉพาะการทำลายผ้ามีหลายวิธี เช่นการมัดหมี่ การเก็บขิดยกลาย เป็นต้น ลายต่างๆที่ได้มานั้น เกิดจากทั้งความคิดและความเชื่อ ที่มีมาแต่โบราณสืบต่อกันมา

  ลายมัดหมี่ขอนารี ตามตำนานชาวบ้านเล่าว่า ผ้าไหมมัดหมี่ลายนี้เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยพระยาภักดีชุมพล(แล) เจ้าเมืองชัยภูมิคนแรก และ ท่านท้าวบุญมี ภรรยา ซึ่งเป็นชาวเมืองเวียงจันทร์เป็นข้าราชการ ในสำนักเจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันทร์ได้อพยพย้ายถิ่นฐานมาตั้งเมือง ที่เมืองชัยภูมิ ซึ่งเป็นเมืองเก่าสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ท่านท้าวบุญมี เป็นผู้ที่เชี่ยวชาญด้านการถักทอผ้า ท่านได้สอนให้สตรีชาวชัยภูมิ รู้จักการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ทอผ้าไม่ว่าจะเป็นผ้าขิด ผ้าไหมมัดหมี่ การทำ ซิ่นคั่น การทอผ้าฝ้าย เป็นต้น นอกจากนั้นท่านยังได้สอนให้มีการประดิษฐ์ คิดลวดลายต่างๆขึ้นอีกไม่ว่าจะเป็นลายหมี่ขอ หมี่คั่น หมี่เอี้ยวเยี่ยวควาย และมีลายผ้ามัดหมี่อื่นๆ อีกมากมาย เนื่องจากชาวชัยภูมิเป็นผู้ที่มีศิลปะในตัวเอง จึงได้คิดลายมัดหมี่ จากสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว มาออกแบบเป็นลายผ้า เช่น ลายรูปตะขอเกิดจาก การตักน้ำขึ้นมาจากบ่อในสมัยก่อนต้องใช้ตะขอที่ทำจากไม้ไผ่ ก็นำเข้ามาประยุกต์และออกแบบเป็นลวดลายผ้าไหม ต่อมามีการดัดแปลง ให้มีลวดลายสวยงาม แปลก ออกไปตามจินตนาการแต่ยังคงอนุรักษ์ลายรูปตะขอไว้ จนเป็นเอกลักษณ์ของผ้าไหมมัดหมี่ของชัยภูมิ
      ผ้าไหมลายหมี่คั่นขอนารี เป็นลายผ้ามัดหมี่เอกลักษณ์ของจังหวัดชัยภูมิ เกิดจากการนำ หมี่คั่นลายโบราณที่เป็นลายพื้นฐาน มารวมกับ ลายมัดหมี่ขอนารีที่เป็นลายที่มีการประยุกต์มาจาก ลายขอซึ่งเป็นลายดั้งเดิม แต่สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดหลังผ้าลายหมี่คั่น ซึ่งเป็นลายพื้นฐาน

ประเภทของผ้าไหม

                                       


ประเภทของผ้าไหม  
             
                     ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย ทอจากเส้นไหมซึ่งเป็นใยธรรมชาติที่แข็งแรงที่สุด มีความมันวาว ดูแล้วสวยงามแตกต่างจากผ้าที่ทอด้วยเส้นใยชนิดอื่น และเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญอย่างยิ่งของประเทศไทย และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบันเพราะ ประเทศไทยส่งออกผ้าไหมมูลค่าปีละประมาณ 500 ล้านบาท (ตารางที่ 4) ซึ่งคิดเป็น 40 % ของปริมาณผ้าไหมที่ผลิตส่วนอีก 60% ของผ้าไหมไทยจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยว และบุคคลทั่วไปในประเทศ ซึ่งคิดเป็นมูลค่ารวม 8000 - 1,000 ล้านบาท จากการสำรวจพบว่ามีโรงงานทอผ้าไหมขนาดใหญ่ และขนาดเล็กจำนวนประมาณ 70 โรง และมีจำนวนร้านค้าผ้าไหมภายในประเทศมากกว่า 500 แห่ง การผลิตผ้าไหมไทยเป็นการแสดงออกถึงศิลปพื้นบ้าน และเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ซึ่งทำให้ผ้าไหมที่ทอในแต่ละภูมิภาค จะมีเอกลักษณะเฉพาะของตนเอง ทำให้ผ้าไหมไทยมีความหลากหลายในตัวเอง ทั้งทางด้านกรรมวิธีการทอลวดลายและรูปแบบของผ้าซึ่งเอกลักษณ์ต่างๆ เหล่านี้  สามารถใช้เป็นตัวกำหนดถึงแหล่งของการผลิตได้ ประเภทของผ้าไหมที่ทอพื้นบ้าน ถ้าหากแบ่งตามกรรมวิธีการทอสามารถแบ่งได้ดังนี้ เป็นผ้าไหมที่ทอลายขัดโดยใช้เส้นยืน และเส้นพุ่มธรรมดาตลอดกันทั้งผืน ผ้าที่ออกมาจะเป็นผ้าสีพื้นเรียบ ไม่มีลายโดยใช้เส้นยืนและเส้นพุ่งเป็นสีเดียวกันหรือใช้สีต่างกันก็ได้ เป็นผ้าที่นิยมใช้กันทั่วไป ซึ่งผ้าไหมไทยที่ส่งออกต่างประเทศ คณะกรรมการส่งเสริมสินค้าไหมไทยได้กำหนดมาตราฐาน โดยแบ่งผ้าไหมเป็น 6 ชนิด คือ
                       1. ผ้าไหมชนิดบางมาก 
                       2. ผ้าไหมชนิดบาง
                       3. ผ้าไหมชนิดหนา
                       4. ผ้าไหมชนิดหนามาก
                       5. ผ้าไหมชนิดหนาพิเศษ
                       6. ผ้าไหมชนิดหนามากพิเศษ